วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

MATV

ระบบสายอากาศรวม( MATV )
ความหมายระบบทีวีรวม MATV สำหรับอาคารไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ระบบทีวีรวมถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อผู้พักอาศัยในอาคาร และระบบทีวีรวม ยังทำให้การติดตั้งเสาอากาศหรือจานดาวเทียมเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วย ไม่เกะกะ เนื่องจากไม่ต้องติดตั้งระบบเหล่านี้เป็นส่วนตัว ระบบ MATV (Master Antenna TeleVision) เป็นระบบที่มีสายอากาศรับสัญญาณทีวีช่องต่างๆ รวมกันเป็นเพียงชุดเดียว แต่สามารถป้อนสัญญาณไปยังจุดต่างๆ ภายในอาคาร ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ๆได้ ระบบ MATV จะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบและอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่ใช้และเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับระบบด้วย











แบบแปลนตัวอย่าง ขนาด 96 ห้อง
จากภาพแบบแปลนตัวอย่าง สามารถใช้แบบตามตัวอย่างดัดแปลงแก้ไข ลดระบบตามจำนวนห้องที่ต้องการได้ หรือขยายระบบได้ตามจำนวนห้องที่ต้องการ การจัดระบบกระจายสัญญาณในแบบนี้จะทำให้สัญญาณที่ได้ใกล้เคียงกันทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นจุดต้นทาง หรือที่จุดอยู่ปลายทาง อุปกรณ์ขยายสัญญาณ (BOOSTER)





คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณทีวีให้มีความแรงของสัญญาณที่เพียงพอที่จะแบ่งจ่ายให้กับอุปกรณ์ตัวแยกแต่ละตัว จนถึงจุดรับทีวีแต่ละจุดอย่างเพียงพอ โดยปกติสัญญาณที่จุดรับทีวีควรมีความแรงสัญญาณโดยประมาณ 60-80 dB การเลือก BOOSTER ต้องเลือกให้เหมาะสมกับจำนวนห้อง
1-30 ห้อง
GAIN 30 dB OUTPUT 105 dB
30-80 ห้อง
GAIN 40 dB OUTPUT 115 dB
80-150 ห้อง
GAIN 40 dB OUTPUT 120 dB

อุปกรณ์เสริม MATV คืออุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ระบบส่งสัญญาณในระบบ MATV สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยอุปกรณ์แต่ละตัวจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป เพื่อความเข้าใจและเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม อุปกรณ์เสริมมีดังนี้ 1. RF Modulator 2. Demodulator 3. Channel Converter 4. Channel Filter 5. Mixer Active Combiner 6. Attenuator

RF Modulator
อาร์เอฟมอดูเลเตอร์ คือ อุปกรณ์ใช้สำหรับแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็นสัญญาณ ความถี่วิทยุเพื่อส่งเข้าระบบ MATV ดูเลเตอร์ หรือ ภาษาช่างเรียกง่ายๆว่า มอด จะใช้ 1 ตัวต่อ 1 ช่องรายการมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน
แบบที่ 1 Modulator แบบที่ติดมากับเครื่อง เช่นเครื่องวีดีโอ, เครื่องรับดาวเทียม, จะเป็นมอด แบบผลิตสัญญาณขั้นตอนเดียวแล้วรวมสัญญาณภาพและเสียงผสมกับความถี่คลื่นวิทยุ แล้วส่งออกใช้งานเลย
ลักษณะรูปคลื่นที่วัดได้จาก มอดแบบขั้นตอนเดียว



ข้อดี คือปรับเปลี่ยนช่องความถี่ที่ส่งออกได้กว้างตั้งแต่ 21-69 ในช่วงความถี่ UHF และราคาถูกข้อเสีย ความถี่ที่ใช้ส่ง สัญญาณจะฟุ้งไม่อยู่ในความถี่ที่กำหนด ทำให้ส่งสัญญาณในระบบ ใหญ่ๆได้ไม่ดี ( เหมาะสำหรับอาคารที่มีจุดรับทีวีน้อย )
แบบที่ 2 Modulator แบบติดตั้งอยู่นอกเครื่อง คือมอดที่ถูกผลิตมาแบบพิเศษมากขึ้น โดยมีระบบผลิตคลื่นความถี่ที่แม่นยำขึ้นทำให้สัญญาณที่ได้มีความคมมากขึ้น และแม่นยำมากขึ้น อาการเคลื่อนจากความถี่เดิมจะไม่มี และมีความคมของสัญญาณมากขึ้นและอาการฟุ้งของสัญญาณจะไม่มี
ลักษณะรูปคลื่นที่ได้จาก มอดแบบขั้นตอนเดียว แบบนอกเครื่อง



สัญญาณ 1 ช่อง ส่งลงระบบ MATV ช่องเว้นช่อง
ข้อดี คือปรับเปลี่ยนช่องความถี่ที่ส่งออกได้ สามารถเลือกช่วงความถี่ที่ต้องการส่งได้ เช่น VL , Low S-Band , VH , High S-Band , UHF 1-2 มีความคมของสัญญาณสูง ทำให้ส่งสัญญาณได้แรงขึ้น ภาพที่ได้จะคมชัดมากขึ้นกว่าแบบที่ไม่ใช้มอดนอกเครื่อง
ข้อเสีย การส่งสัญญาณจะต้องส่งช่องเว้นช่องเช่น 5,-7,-9,-11 ทำให้ต้องใช้ช่วงความถี่ที่ใช้ส่งกว้าง ความถี่ที่ส่งจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าระบบสายภายในอาคารไม่ดี การส่งที่ความถี่สูงๆ จะทำให้สัญญาณที่ปลายสายชัด เนื่องจากสัญญาณจะสูญหายไปในสายมากถ้าความถี่ที่ใช้สูง
DeModulator




คืออุปกรณ์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ RF หรือสัญญาณทีวี ให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง หรือสัญญาณ AV อุปกรณ์ตัวนี้ถ้าใช้ในระบบ MATV ส่วนมากจะใช้ร่วมกับ Modulator ส่วนมากใช้ในกรณี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนช่องความถี่เดิมให้ส่งช่องใหม่
สาเหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนช่องความถี่ ช่องความถี่ไม่ว่าง บางครั้งช่องความถี่ที่ต้องการใช้เต็มไม่สามารถส่งสัญญาณเข้าระบบได้ จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนส่งช่องความถี่ใหม่ที่ยังว่างอยู่ จึงจำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์ตัวนี้ร่วมกับมอดูเลเตอร์ คลื่นรบกวน จากอุปกรณ์และระบบ ตัวอย่างเช่นระบบ MMDS ที่ใช้รับช่อง Nation Channel หรือ ไททีวี จะรับสัญญาณในระบบไมโครเวฟ และเมื่อรวมสัญญาณเข้าไปในระบบทีวีรวม จะมีสัญญาณรบกวนเข้ามาในระบบค่อนข้างมาก ในกรณีที่ช่องรายการ ทีวีในระบบอาคารมีน้อยปัญหาอาจจะมีไม่มาก แต่สำหรับอาคารที่มีช่องรายการทีวีมากๆ ระบบจะมีปัญหาทันที จึงจำเป็นต้องใช้ De-Modเ พื่อจูนเลือกเฉพาะช่องรายการที่ต้องการและมอดสัญญาณใหม่ทำให้สัญญาณที่ได้สะอาดขึ้น
Channel Convertor


เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนความถี่ช่องทีวีช่องเดิมให้เป็นช่องความถี่ใหม่ เช่นเดิมส่งช่อง 5 ปรับเปลี่ยนเป็นช่อง 12 เป็นต้น
ทำไมต้องเปลี่ยนช่องความถี่ สำหรับอาคารสูงๆที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะพบปัญหานี้บ่อยๆ คือรับสัญญาณทีวีช่องพื้นฐานได้ไม่ชัด อาการส่วนมากคือภาพเป็นเงา เช็คสัญญาณที่ต้นทางชัดไม่มีเงา แต่พอเช็คสัญญาณภาพที่ห้องพักอาศัยกลับมีเงามากจนดูไม่ได้ สาเหตุเกิดจากมีสัญญาณที่เข้าถึงทีวีได้หลายทาง คือสัญญาณที่เข้ามาทางอากาศโดยตรงเพราะอาคารสูงจะรับสัญญาณได้ดี และสัญญาณที่เข้ามามีความถี่เดียวกันกับที่เรารับกับระบบทีวีรวมอยู่ ทำให้ทีวีที่รับภาพได้มีสัญญาณที่เหลื่อมล้ำกันกจึงเกิดภาพเป็นเงา วิธีแก้คือปรับเปลี่ยนช่องความถี่ใหม่ สำหรับช่องที่มีปัญหา เพื่อให้ทีวีรับสัญญาณได้จากแหล่งเดียวและจะทำให้สามารถแก้ปัญหาเรื่องภาพเป็นเงาให้หายได้

Channel Filter





เป็นอุปกรณ์กรองสัญญาณทีวีที่ใช้ในระบบ MATV ให้สัญญาณที่ได้มีเฉพาะช่องที่ต้องการกรองผ่านเท่านั้น ส่วนความถี่ที่ไม่ต้องการจะไม่สามารถผ่านหรือผ่านได้น้อย ใช้สำหรับลดปัญหาการกวนข้ามช่องของระบบทีวีรวมที่ใช้วิธีรวมสัญญาณโดยตรงจากเครื่องรับดาวเทียม

Mixer Active Combiner






คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรวมช่องสัญญาณระบบดาวเทียมหรือทีวีเข้าด้วยกัน และยังสามารถปรับความแรงของสัญญาณเพิ่มได้ในกรณีที่สัญญาณอ่อน เพื่อปรับระดับสัญญาณของแต่ละช่องก่อนส่งเข้า Booster เพื่อทำการขยายสัญญาณต่อไป เพื่อป้องกันช่องสัญญาณที่มีความแรงสัญญาณที่มากกว่าล้นเข้ามาทับสัญญาณที่อ่อนกว่า ในช่วงที่นำสัญญาณรวมทั้งหมดขยายสัญญาณเพิ่มขึ้นด้วย Booster
Attenuator



คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปรับลดสัญญาณ ที่มีความแรงสัญญาณที่ค่อนข้างมากให้สัญญาณลดลงปรับลดได้ประมาณ 0-20 dBใช้สำหรับปรับลดช่องสัญญาณที่มีความแรงสัญญาณโดดมากกว่าช่องอื่นให้ลดลงมาอยู่ในระดับเดียวกันก่อนทำการขยายด้วย Booster หรือใช้สำหรับบางจุดที่ต้องการ ขยายสัญญาณเพิ่มด้วย Booster แต่ไม่สามารถขยายได้เนื่องจากสัญญาณที่ขาเข้าแรงเกินไป ใช้อุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัวลดสัญญาณก่อนเข้า Booster ขยายสัญญาณ
HEAD END



Head End คือการรวมอุปกรณ์ระบบต้นทาง หรือต้นแหล่งของระบบทีวีรวมทั้งหมดไว้ที่จุดเดียวก่อนส่งเข้าระบบแยกสัญญาณภายในอาคาร เพื่อความสะดวกและง่าย ในการควบคุมดูแลระบบและรวมถึงสามารถปรับแต่งช่องสัญญาณให้มีระดับที่เหมาะสมได้ง่ายด้วย เป็นการรวมสัญญาณทีวีจากระบบเสาอากาศทีวี , จานดาวเทียม , DVD , VCD , กล้องวงจรปิด , และช่องรายการทีวีอื่นๆที่ต้องการเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการรับชมเลือกรับชมได้จากระบบภายในอาคาร โดยไม่ต้องเดินสาย สัญญาณหลายๆเส้นเข้าถึงทีวี

ช่องรายการที่เลือกลงระบบได้
1.จากระบบเสาอากาศทีวี ทีวีไทยครบทุกช่อง 3,5,7,9,11,ITV2. ระบบ MMDS หรือ ระบบรับช่อง Nation Channel , TTV2,33. ช่องรายการจากดาวเทียม ข่าว, กีฬา, ภาพยนตร์4. ช่องรายการจากระบบเคเบิ้ลทีวี ( เสียค่าสมาชิกรายเดือน )5. ช่องรายการ จัดฉายเองในอาคาร VDO, VCD, DVD6. ภาพจากกล้องวงจรปิด ( ระบบรักษาความปลอดภัย )
วิธีการต่อระบบสายอากาศแบบรวม HEAD END มี 3 แบบดังนี้




1.HEAD END แบบที่ 1 รับรายการทีวีได้ 9 ช่องรายการ





1. รับจากระบบเสาอากาศทีวี 6 ช่องคือ 3, 5, 7, 9, 11, ITV2. รับจากระบบ MMDS 3 ช่อง Nation Channel, TTV2, TTV3
อุปกรณ์ที่ใช้ จะเป็นระบบพื้นฐานธรรมดาทั่วไป รับสัญญาณและรวมสัญญาณส่งเข้าระบบโดยตรง เพราะจำนวนช่องรายการไม่มาก
2.HEAD END แบบที่ 2 รับรายการได้ 13 ช่อง




1.รับจากระบบเสาอากาศทีวี 6 ช่องคือ 3, 5, 7, 9, 11, ITV2. รับจากระบบ MMDS 3 ช่อง Nation Channel, TTV2, TTV33. รับรายการจากดาวเทียม 4 ช่องรายการ จากดาวเทียม 1 ดวง
อุปกรณ์ที่ใช้ จากอุปกรณ์พื้นฐานเพิ่มระบบดาวเทียมเข้าไปอีก 4 ช่องรายการ เลือกรับสัญญาณจากดาวเทียม 1 ดวง ส่งสัญญาณเข้าระบบ MATV โดยตรงจากเครื่องรับดาวเทียมในช่วงความถี่ UHF เพราะจำนวนช่องรายการไม่มาก
3.HEAD END แบบที่ 3 รับรายการได้ 20 ช่อง
1. จากระบบเสาอากาศทีวี 6 ช่อง2. จากระบบ MMDS 3 ช่อง3. จากระบบดาวเทียม 8 ช่องรายการ จากดาวเทียม 3 ดวง4. จากระบบกล้องวงจรปิด 1 ช่อง ( ระบบรักษาความปลอดภัย )5. จากระบบ ฉายภาพผ่าน VDO 1 ช่อง6. จากระบบ ฉายภาพผ่าน DVD 1 ช่อง
อุปกรณ์ที่ใช้ เนื่องจากระบบมีช่องค่อนข้างมาก ทำให้ช่วงความถี่ที่ใช้ส่งสัญญาณไม่เพียงพอ จึงจำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับทำระบบ HEAD END















รูปภาพแสดงการติดตั้งเข้าชุดเพื่อความเรียบร้อย
รูปแสดงตารางความถี่ ระบบทีวีรวม
BAND
CH
Frequency Range
Video
Audio

2
47-54
48.25
53.75
VHF BI
3
54-61
55.25
60.75

4
61-68
62.25
67.75
FM

88-108
-
-

S1
104-111
105.25
110.75

S2
111-118
112.25
117.75

S3
118-125
119.25
124.75
VHF
S4
125-132
126.25
131.75
Low S BAND
S5
132-139
133.25
138.75

S6
139-146
140.25
145.75

S7
146-153
147.25
152.75

S8
153-160
154.25
159.75

S9
160-167
161.25
166.75

S10
167-174
168.25
173.75

5
174-181
175.25
180.75

6
181-188
182.25
187.75

7
188-195
189.25
194.75
VHF
8
195-202
196.25
201.75
BIII
9
202-209
203.25
208.75

10
209-216
210.25
215.75
BAND
CH
Frequency Range
Video
Audio

11
216-223
217.25
222.75

12
223-230
224.25
229.75

S11
230-237
231.25
236.75

S12
237-244
238.25
243.75

S13
244-251
245.25
250.75
VHF
S14
251-258
252.25
257.75
High S BAND
S15
258-265
259.25
264.75

S16
265-272
266.25
271.75

S17
272-279
273.25
278.75

S18
279-286
280.25
285.75

S19
286-293
287.25
292.75

S20
293-300
294.25
299.75

S21
302-310
303.25
308.75

S22
310-318
311.25
316.75

S23
318-326
319.25
324.75

S24
326-334
327.25
332.75

S25
334-342
335.25
340.75

S26
342-350
343.25
348.75

S27
350-358
351.25
356.75
VHF
S28
358-366
359.25
364.75
Hyperband
S29
366-374
367.25
372.75

S30
374-382
375.25
380.75
BAND
CH
Frequency Range
Video
Audio

S31
382-390
383.25
388.75

S32
390-398
391.25
396.75

S33
398-406
399.25
404.75

S34
406-414
407.25
412.75

S35
414-422
415.25
420.75

S36
422-430
423.25
428.75

S37
430-438
431.25
436.75

S38
438-446
439.25
444.75

S39
446-454
447.25
452.75

S40
454-462
455.25
430.75

S41
462-470
463.25
468.75

21
470-478
471.25
476.75

22
478-486
479.25
484.75

23
486-494
487.25
492.75

24
494-502
495.25
500.75

25
502-510
503.25
508.75

26
510-518
511.25
516.75

27
518-526
519.25
524.75

28
526-534
527.25
532.75
UHF Band I
29
534-542
535.25
540.75

30
542-550
543.25
548.75

31
550-558
551.25
556.75
BAND
CH
Frequency Range
Video
Audio

32
558-566
559.25
564.75

33
566-574
567.25
572.75

34
574-582
575.25
580.75

35
582-590
583.25
588.75

36
590-598
591.25
596.75

37
598-606
599.25
604.75

38
606-614
607.25
612.75

39
614-622
615.25
620.75

40
622-630
623.25
628.75

41
630-638
631.25
636.75

42
638-646
639.25
644.75

43
646-654
647.25
652.75

44
654-662
655.25
660.75

45
662-670
663.25
668.75

46
670-678
671.25
676.75

47
678-686
679.25
684.75

48
686-694
687.25
692.75

49
694-702
695.25
700.75

50
702-710
703.25
708.75

51
710-718
711.25
716.75

52
718-726
719.25
724.75

53
726-734
727.25
732.75
BAND
CH
Frequency Range
Video
Audio

54
734-742
735.25
740.75

55
742-750
743.25
748.75

56
750-758
751.25
756.75
UHF Band II
57
758-766
759.25
764.75

58
766-774
767.25
772.75

59
774-782
775.25
780.75

60
782-790
783.25
788.75

61
790-798
791.25
796.75

62
798-806
799.25
804.75

63
806-814
807.25
812.75

64
814-822
815.25
820.75

65
822-830
823.25
828.75

66
830-838
831.25
836.75

67
838-846
839.25
844.75

68
846-854
847.25
852.75

69
854-862
855.25
860.75
C-BABD
-
3.4-6.4 GHz
-
-
KU-BAND
-
10.9-14.5 GHz






การติดตั้งระบบทีวีรวมด้วยเครื่องรับดาวเทียม (SMATV) เป็นระบบติดตั้งสายอากาศรวมสำหรับที่อยู่อาศัยประเภทอาคารรวม SMATV ย่อมาจาก Sattellite Master Antenna Television








ปัจจุบันอพาร์ทเม้นท์ ,คอนโด, โรงแรม หรืออาคารสูงต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติมโตของธุรกิจ ,ความเจริญของบ้านเมือง และปริมาณประชากร ที่ต้องการที่พักอาศัยกันมากขึ้น
ก่อนติดตั้งระบบทีวีรวม








ระบบทีวีรวม (SMATV) เป็นระบบที่รวมเอาสัญญาณจากเสาอากาศ ช่อง 3 5 7 9 11 ITV และชุดจานรับสัญญาณดาวเทียมหรือกล้องวงจรปิด, VCD, DVD, วิทยุ ฯลฯ รวมเข้าเป็นชุดเดียวกันแล้วส่งไปตามสายเคเบิ้ล ตามบ้านพักอาศัย ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ ตึก อาคาร หมู่บ้าน อพาร์ทเม้น คอนโดมิเนียม โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ ที่มีเครื่องรับโทรทัศน์หลาย ๆ เครื่อง ต้องใช้ตัวขยายสัญญาณให้แรงขึ้นในแต่ละช่วง เพื่อให้ทุกจุดที่รับชม มีความชัดเจนและไม่มีสัญญาณรบกวน
ปัญหาที่มักพบบ่อย คือ อพาร์ทเม้นต์ คอนโดมิเนียม โรงแรม ฯลฯ เดิมมีระบบเสาอากาศทีวีอยู่แล้ว แต่เมื่อนำเอาระบบจานดาวเทียมมาติดตั้งแล้วดูได้เพียงชั้นบน ๆ แต่ชั้นล่าง ๆ ดูได้ไม่ชัดเจน หรือบางห้องดูได้ บางห้องดูไม่ได้ ความยุ่งยากและสับสนที่พบบ่อยเหล่านี้ คือ เกิดจากการวางระบบ SMATV ไม่ถูกต้องเดิมเริ่มต้น และจบลงที่ความประหยัดที่เกินเหตุของผู้รับเหมาเอง หรือเจ้าของ โครงการ และมองข้ามวิธีการ ที่ถูกต้องของการติดตั้งระบบ SMATV ของเจ้าของโครงการ หรือไม่ก็เกิดจากความไร้จรรยาบรรณของผู้รับเหมาติดตั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความไม่รู้หรือรู้ไม่ชัดเจนของทั้งสองฝ่ายก็เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผลก็คือ ทำให้ได้ระบบที่พอใช้งานได้เพียงสัญญาณเสาอากาศทีวีปกติ ในย่านความถี่ต่ำ (VHF) เท่านั้น แต่พอมาเจอคลื่นใหม่ที่อยู่ในย่านความถี่สูง (UHF) ก็จะรองรับสัญญาณไม่ได้
คุณสมบัติของอุปกรณ์ ที่ใช้จำเป็นอย่างยิ่ง เช่น สายนำสัญญาณ ตัวแยกสัญญาณ ตัวขยายสัญญาณ การออกแบบวางระบบ ตั้งแต่ชุดต้นแหล่งจ่าย การเดินสายประกอบกับช่างที่จะต้องมีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์พอสมควร
เจ้าของโครงการต่าง ๆ จะต้องดูแลและควบคุมให้ดี เพราะถือว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้วผู้อยู่อาศัยทุกคนจะต้องดูหนัง ฟังเพลง ดูข่าว ดูละคร จึงเป็นระบบที่มีความจำเป็นมากในปัจจุบันนี้ ซื้อคอนโด มิเนียมราคาหลายแสนแต่ทีวีไม่ชัดหรือดูไม่ได้เลย ถ้าหากเจ้าของ โครงการมองข้ามหรือไม่ให้ความ สำคัญ อาจเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาให้กับท่านในอนาคต ถ้าหากเริ่มต้นที่ถูกวิธีอาจจะ เป็นระบบ ที่ดึงดูด ลูกค้าให้เอาชนะคู่แข่งได้เป็นอย่างดี





ก่อนติดตั้งระบบทีวีรวม
งานระบบทีวีรวม มีการวิธีการติดตั้งได้ 2 ระบบได้ดังนี้
1. OPEN SYSTEMS MATV








2.CLOSE SYSTEMS MATV






ตัวอย่างการออกแบบงานระบบทีวีรวม อาคารสนามบินสุวรรณภูมิ










แบบการติดตั้งชุดงานระบบทีวีรวม / SMATV




ปีกอากาศ SAKOL รุ่น กล้องแดง
เสาทาวเวอร์ สูง 3 เมตร + เสากลาง (แป็ปเหล็ก 6 เมตร)
แผงรับไททีวี Samart 16 AC
อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ( Isolator )
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ DA-120
MATV : เสาอากาศ + ไททีวี ( 9 ช่อง )





ปีกอากาศ SAKOL รุ่น กล้องแดง
เสาทาวเวอร์ สูง 3 เมตร + เสากลาง (แป็ปเหล็ก 6 เมตร)
แผงรับไททีวี Samart 16 AC
อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ( Isolator )
หน้าจานดาวเทียมขนาด 227 ซ.ม. ( 8 ฟุต)
หัวรับสัญญาณ แบบ 2 ขั้ว V/H
Sat Splitter แยกสัญญาณดาวเทียม แบบ 6 ทาง
เครื่องรับดาวเทียม แบบ Fix 4 เครื่อง
อุปกรณ์สัญญาณ เฉพาะช่อง (OCF) 4 ตัว
Combiner 7U1V Mix 1 ตัว
Splitter C 2 (ใช้รวมสัญญาณ เสาอากาศ + ดาวเทียม)
Booster ขยายสัญญาณ dBY รุ่น DA-120

MATV : เสาอากาศ + ไททีวี + ดาวเทียม ( รับชมทีวี จากเสาอากาศ 9 ช่อง+ดาวเทียม 4 ช่อง = 13 ช่อง)










MATV : เสาอากาศ + ไททีวี + ดาวเทียม ( รับชมทีวี จากเสาอากาศ 9 ช่อง+ดาวเทียม 6 ช่อง = 15 ช่อง)








ปีกอากาศ SAKOL รุ่น กล้องแดง
เสาทาวเวอร์ สูง 3 เมตร + เสากลาง (แป็ปเหล็ก 6 เมตร)
แผงรับไททีวี Samart 16 AC
อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ( Isolator )
หน้าจานดาวเทียมขนาด 227 ซ.ม. ( 8 ฟุต)
หัวรับสัญญาณ แบบ 2 ขั้ว V/H
Sat Splitter แยกสัญญาณดาวเทียม แบบ 6 ทาง
เครื่องรับดาวเทียม แบบ Fix 6 เครื่อง
อุปกรณ์สัญญาณ เฉพาะช่อง (OCF) 6 ตัว
Combiner 8U1V Mix 1 ตัว
Splitter C 2 (ใช้รวมสัญญาณ เสาอากาศ + ดาวเทียม)
Booster ขยายสัญญาณ dBY รุ่น DA-120






SMATV : 4 CHANNEL ( ระบบทีวีรวม แบบปิด รับสัญญาณตรงผ่านดาวเทียม 4 ช่อง)







ชุดหน้าจานดาวเทียม C-Band 8' Fix
หัวรับสัญญญาณแบบแยก 2 ขั้ว LNB C2
Sat Splitter 6 Way 1 ตัว
เครื่องรับดาวเทียม Digital Fix ( Leo 905) 4 เครื่อง
ตัวรวมสัญญาณ Combiner 8UMIX
อุปกรณ์กรองสัญญาณเฉพาะช่อง OCF 4 ตัว
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ dBY : DA 120

SMATV : 6 CHANNEL ( ระบบทีวีรวม แบบปิด รับสัญญาณตรงผ่านดาวเทียม 6 ช่อง)







ชุดหน้าจานดาวเทียม C-Band 8' Fix
หัวรับสัญญญาณแบบแยก 2 ขั้ว LNB C2
Sat Splitter 6 Way 1 ตัว
เครื่องรับดาวเทียม Digital Fix ( Leo 905) 6 เครื่อง
ตัวรวมสัญญาณ Combiner 8UMIX
อุปกรณ์กรองสัญญาณเฉพาะช่อง OCF 6 ตัว
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ dBY : DA 120







SMATV : รับสัญญาณจากดาวเทียม 10 CHANNEL






ชุดหน้าจานดาวเทียม C-Band 8' Fix
หัวรับสัญญญาณแบบแยก 2 ขั้ว LNB C2
Sat Splitter 6 Way 2 ตัว
เครื่องรับดาวเทียม Digital Fix ( Leo 905) 10 เครื่อง
ตัวรวมสัญญาณ Combiner รุ่น ACT10U (dBY)
อุปกรณ์กรองสัญญาณเฉพาะช่อง OCF 10 ตัว
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ dBY : DA 120
SMATV : รับสัญญาณจากดาวเทียม 16 CHANNEL




ชุดหน้าจานดาวเทียม C-Band 8' Fix 2 ชุด
หัวรับสัญญญาณแบบแยก 2 ขั้ว LNB C2 2 ชุด
Sat Splitter 6 Way 3 ตัว
เครื่องรับดาวเทียม Digital Fix ( Leo 905) 16 เครื่อง
ตัวแปลงสัญญาณ Modulator TMS-UHF,VHF 10 ตัว
ตัวรวมสัญญาณ Combiner รุ่น PC-16 (dBY)
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ dBY : DA 120

สายส่ง - สายอากาศ คืออะไร
อุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการติดต่อสื่อสาร คือสายอากาศ และสายนำสัญญาณ ซึ่งจะถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะการติดต่อสื่อสารนั้นจะสามารถติดต่อระยะทางได้ไกลๆมากเท่าไหร่นั้น สายอากาศจะถือเป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่ง ถ้าเครื่องส่งมีประสิทธิภาพสูง แต่สายอากาศคุณภาพแย่ หรือ ไม่เหมาะสมกับความถี่ที่ใช้งาน ย่อมจะเป็นตัวลดทอนสัญญาณที่จะถูกส่งออกไป เรามาทำความรู้จัก สายส่งกำลัง และสายอากาศกันดีกว่าครับ
สายนําสัญญาณ(Transmission Line)




คือสายตัวนำสัญญาณที่เราต่อระหว่างเครื่องส่งวิทยุไปยังสายอากาศ ซึ่งสายนำสัญญาณจะใช้กรณีที่เราต้องการต่อใช้สายอากาศภายนอก ซึ่งสายนำสัญญาณจะเป็นตัวนำสัญญาณจากเครื่องส่งวิทยุไปยังสาย อากาศ และเป็นตัวนำพาสัญญาณวิทยุจากสายอากาศมายังเครื่องรับเช่นกัน ส่วนใหญ่สายนำสัญญาณที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุจะเป็นชนิด "โคแอกเซียล" ซึ่งจะมีลักษณะเป็นโลหะเช่นทองแดง เป็นตัวนำสัญญาณตรงกลางของสาย (บางยี่ห้อมีการจัดทําเป็นแกนสายทองแดงหลายๆเส้น ตีเกลียวซึ่งมักจะนิยมใช้กับสายอากาศประเภทที่มีโรเตอร์หมุนเพื่อลดปัญหาแกนในขาดกลาง) แล้วจะมีฉนวนเป็นตัวหุ้มหรือเรียก ว่าไดอิเล็กตริก ซึ่งอาจจะเป็นพลาสติก หรือโฟม (หากเป็นสายโฟมมักจะมีฟลอย์ประเภทอลูมิเนียมพันทับอยู่บนแกนโฟม เพื่อเป็นการแบ่งแยกสัญญาณไม่ให้สัญญาณมากวน) แล้วจะมีซีลด์ ซึ่งจะเป็นตัวป้องกันสัญญาณรบกวน โดยซีลด์ส่วนใหญ่จะถักเป็นตาข่ายห่อหุ้มอิเล็กตริก ซึ่งมักจะถูกจัดทําด้วยวัสดุประเภททองแดงหรือเงิน และซีลด์นี้ก็ถือว่าเป็นส่วนที่เดินทางครบวงจรของสัญญาณวิทยุด้วย ถัดจากส่วนของสายซีลด์จะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติกอีกชั้นที่เป็นปลอกหุ้มสีดำ
ตารางคุณสมบัติของสายนำสัญญาณชนิดต่างๆ เฉพาะค่า อิมพีแดนช์ประมาณ 50 โอห์ม ซึ่งเป็นสายที่ใช้ต่อจากเครื่องวิทยุสื่อสารไปสู่สายอากาศ
เบอร์สาย
อิมพีแดนซ์ (โอห์ม)
เส้นผ่านศูนย์กลางสาย (มม.)
จำนวนตัวนำ
ตัวคูณความเร็ว
อัตราการลดทอน (dB) ที่ความยาว 100 เมตร
ค่าความจุไฟฟ้า (pE/เมตร)
แรงดันสูงสุด (Vrms)
10 MHz
30 MHz
50 MHz
100 MHz
145 MHz
200 MHz
400 MHz
1 GHz
RG-8/U
52
10.3
7
0.66
2.0
3.7
5.2
7.2
8.8
10.5
15.4
29.2
96.8
4000
RG-8/U โฟม
50
10.3
1
0.78
1.5
2.9
3.9
5.9
7.4
8.9
13.8
23.4
85.3
1500
RG-8A/U
52
10.3
7
0.66
2.0
3.7
5.2
7.2
8.8
10.5
15.4
29.2
96.8
4000
RG-58/U
53.5
4.9
1
0.66
4.1
7.6
10.2
14.8
18.6
22.3
32.8
55.8
93.5
1900
RG-58A/U
50
4.9
19T
0.66
4.3
8.1
10.8
1.61
19.9
23.9
37.7
70.5
101.0
1900
RG-58A/U โฟม
50
4.9
1
0.78
-
-
10.5
14.8
17.8
21.0
29.5
47.6
85.3
600
RG-58C/U
50
4.9
19T
0.66
4.3
8.1
10.8
16.1
19.9
23.9
37.7
70.5
101.0
1900
RG-174/U
50
2.5
7
0.66
12.8
-
21.7
29.2
34.3
39.4
57.4
98.4
101.0
1500
RG-213/U
50
10.3
7
0.66
2.0
3.7
5.2
7.2
8.8
10.5
15.4
29.2
101.0
4000
RG-214/U ซีลด์ 2 ชั้น
50
10.8
7S
0.66
2.0
3.7
5.2
7.2
8.8
10.5
15.4
29.2
101.0
5000
RG-218/U
50
22.1
7
0.66
0.78
1.5
-
3.0
3.9
4.9
-
-
96.8
11000
1.5D-2V
50
2.9
7
0.66
8.5
15.5
-
28.5
34.2
40.0
-
100.0
100
300
2.5D-2V
50
4.3
1
0.66
5.0
8.6
-
15.2
19.2
23.5
-
55.3
100
500
3D-2V
50
5.5
1
0.66
4.4
7.7
-
13.8
17.0
-
-
50.5
100
1000
(3D-2V)
50
5.7
7
0.66
4.6
8.0
-
15.6
19.0
22.5
-
56.3
100
1000
5D-2V
50
7.5
1
0.66
2.6
4.6
-
8.8
10.6
12.5
-
33.6
100
2000
(5D-2V)
50
7.5
7
0.66
2.8
4.9
-
10.0
12.2
14.5
-
37.3
100
2000
8D-2
50
11.5
1
0.66
1.5
-
-
5.6
7.0
-
-
22.7
100
4000
(8D-2)
50
11.5
7
0.66
2.0
3.5
-
6.3
7.9
9.5
-
24.9
100
4000
10D-2
50
13.7
1
0.66
1.4
2.4
-
4.7
5.6
6.5
-
19.7
-
5000
(10D-2)
50
1.37
7
0.66
1.4
-
-
5.3
6.6
-
-
21.4
-
-
3D-LFV โฟม
50
5.0
1
0.78
-
-
-
-
15.4
-
27.6
-
-
-
5D-FB โฟม/ซีลด์ 2 ชั้น
50
7.5
1
0.79
-
-
-
-
7.8
-
13.8
-
-
-
8D-FB โฟม/ซีลด์ 2 ชั้น
50
11.1
1
0.79
-
-
-
-
5.0
-
9.0
-
-
-
10D-FB โฟม/ซีลด์ 2 ชั้น
50
13.0
1
0.79
-
-
-
-
3.8
-
7.0
-
84
-
12D-FB โฟม/ซีลด์ 2 ชั้น
50
15.4
1
0.79
-
-
-
-
3.2
-
5.9
-
84
-
Heliax 3/8" โฟม
50
11.2
1
0.88
1.0
1.8
2.3
3.4
4.1
4.9
7.1
11.5
-
-
Heliax 1/2" โฟม
50
16.0
1
0.88
0.7
1.3
1.7
2.5
3.1
3.7
5.4
8.9
-
-
ตารางแสดงแถบความถี่ใช้งานทำกำหนด
แถบความถี่
ช่วงความถี่
L band
1 ถึง 2 GHz
S band
2 ถึง 4 GHz
C band
4 ถึง 8 GHz
X band
8 ถึง 12 GHz
Ku band
12 ถึง 18 GHz
K band
18 ถึง 26.5 GHz
Ka band
26.5 ถึง 40 GHz
Q band
30 ถึง 50 GHz
U band
40 ถึง 60 GHz
V band
50 ถึง 75 GHz
E band
60 ถึง 90 GHz
W band
75 ถึง 110 GHz
F band
90 ถึง 140 GHz
D band
110 ถึง 170 GHz






ระบบสื่อสารของดาวเทียมโทรคมนาคมโดยทั่วไป

สายอากาศ (antenna)







เป็นอุปกรณ์ที่เห็นเด่นชัดที่สุดของสถานีฐาน และ มีความสำคัญมากเพราะเป็นตัวกำหนดความ สามารถในการรับส่งสัญญาณของระบบรับส่งสัญญาณ โดยทั่วไปแล้วสายอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีกำลังการขยายดีเพราะมีพื้นที่ในการรับส่งสัญญาณกว้าง สายอากาศมีหลายชนิด มีหน้าที่โฟกัสสัญญาณให้มีทิศทางเพื่อที่จะเพิ่มความเข้มของสัญญาณในทิศทางที่ต้องการสื่อสาร (คล้ายๆกับเลนซ์นูนที่ทำหน้าที่รวมแสงให้มีความเข้มขึ้น) ความเข้มของสัญญาณที่เพิ่มขึ้น ก็คือสัญญาณมีความแรงขึ้นนั่นเอง และเมื่อเราเปรียบเทียบความเข้มของสัญญาณที่ได้จากสายอากาศที่ใช้กับสายอากาศแบบรอบทิศทาง ( isotropic antenna) เราก็จะได้อัตราขยายกำลังของสายอากาศที่ใช้ ดังนั้นสายอากาศจึงมีส่วนช่วยในการเพิ่มกำลัง ของสัญญาณในการรับส่งสัญญาณในทิศทางที่ต้องการ





รูปที่ 4 ภาพจำลองรูปแบบการกระจายคลื่นของสายอากาศแบบสามมิติของสายอากาศแบบยากิ

สายอากาศที่นิยมใช้ในการรับส่งสัญญาณดาวเทียมได้แก่ สายอากาศแบบจาน (Dish antenna) ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนสัญญาณ ที่ตกกระทบผิวจานสายอากาศไปยังตัวป้อนสัญญาณซึ่งทำหน้าที่แปลงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า(กรณีรับสัญญาณ)
หรือในทางกลับกัน ตัวป้อนสัญญาณจะแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ต้องการส่งให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ไปยังผิวของจานสายอากาศเพื่อสะท้อนไปยังทิศทางที่ต้องการสื่อสาร สายอากาศแบบยากิ(Yagi antenna) สายอากาศแบบเกลียวที่มักใช้ในดาวเทียมสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น สายอากาศแบบแพทซ์ (Patch antenna)ซึ่งมักจะพบในเครื่องรับ GPS เป็นต้น






รูปที่ 5 ตัวอย่างสายอากาศแบบจานสะท้อน สายอากาศ GPS และสายอากาศสำหรับดาวเทียมของนักวิทยุสมัครเล่น ตามลำดับ
ชุดขยายสัญญาณแบบสัญญาณรบกวนต่ำ (Low Noise Amplifier - LNA)
LNA มักจะต่อไว้ใกล้กับตัวสายอากาศ เป็นอุปกรณ์ที่กำหนดคุณสมบัติความสามารถในการรับสัญญาณ ชุดขยายสัญญาณนี้มีหน้าที่ขยายสัญญาณวิทยุหรือไมโครเวฟ ที่รับมาได้จากสายอากาศให้มีความแรงเพิ่มขึ้นโดยให้กำเนิดสัญญาณรบกวนออกมาต่ำมาก สัญญาณที่เดินทางมาจากระยะไกล หลายร้อยกิโลเมตรจะมีขนาดลดลงอย่างมาก และอาจจะมีค่าใกล้เคียงกับสัญญาณรบกวนที่มีอยู่หรือที่วงจร ขยายสร้างขึ้น ดังนั้นการขยายสัญญาณโดยไม่สร้างสัญญาณรบกวนเพิ่มขึ้นมา จึงมีความสำคัญมากๆ และในกรณีที่ต้องการให้สัญญาณรบกวนต่ำมาก อาจจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิของวงจรขยายและเครื่องรับ ให้มีค่าต่ำๆ โดยใช้เครื่องปรับอากาศ หรือการหล่อเย็น
LNB ย่อมาจากคำว่า ( Low Noise Blockdown Converter ) หน้าที่การทำงานหลักๆคือ รับสัญญาณที่ได้จากจุดรวมสัญญาณที่หน้าจาน แล้วขยายสัญญาณให้มีความแรงมากขึ้น ด้วยวงจรขยายสัญญาณที่มีเกนการขยายสูงและการรบกวนต่ำ แล้วแปลงสัญญาณให้มีความถี่ที่ต่ำกว่าก่อนส่งออกจาก LNB ความถี่ที่ออกมาจาก LNB นี้เรียกว่าความถี่ IF ( Intermediate Frequency ) แล้วส่งผ่านสายนำสัญญาณ Coaxinal Cable เข้าสู่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมต่อไปมีอยู่ 2 ชนิด
1.ชนิด C-BAND
2.ชนิด KU-BAND












การต่อ LNB เข้าด้วยกันหลายหัวเพื่อรับดาวเทียมหลายดวง
จานรับสัญญาณดาวเทียม
หน้าที่หลักของจานรับสัญญาณดาวเทียม คือทำหน้าที่สะท้อนสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม เพื่อรวมสัญญาณไปที่จุดโฟกัสของจาน ( Center Focus ) ซึ่งจุดโฟกัสนี้ จะอยู่บริเวณหน้าจาน จานในรูปแบบลักษณะนี้เรียกว่า จานแบบ พาราโบลิก ( Parabolic ) ส่วนตัว LNB จะติดตั้งไว้ที่จุดโฟกัสนี้ เพื่อรับสัญญาณให้ได้แรงที่สุด
จานดาวเทียมที่นิยมใช้กันอย่างมาก คือ จานดาวเทียมแบบตะแกรงตามภาพตัวอย่าง ข้อดีของจานแบบนี้คือ ไม่ต้านลม น้ำหนักเบา หาที่ติดตั้งได้ง่าย ตัวโครงจานและแผ่นตะแกรงสะท้อนสัญญาณ ผลิตขึ้นจากอลูมิเนียม ทำให้น้ำหนักเบาและหมดปัญหาเรื่องสนิม และวัสดุนี้ยังมีคุณสมบัติการสะท้อนสัญญาณได้ดีอีกด้วย
เครื่องรับสัญญาณ
Satellite Receiver หรือ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม คือเครื่องแปลงสัญญาณ ที่รับมาจาก LNB ในช่วงความถี่ IF มาผ่านขบวน การแปลงสัญญาณ ออกมาเป็นสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงเครื่องรับดาวเทียมในปัจจุบันมี 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบ Analog และระบบ Digital
ระบบเครื่องรับแบบ ANALOG เป็นเครื่องที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม ออกมาเป็น ภาพและเสียงโดยตรงขั้นตอน จะไม่ยุ่งยาก ระบบนี้หากว่าสัญญาณที่รับได้มีความแรงของสัญญาณที่เพียงพอ ภาพที่ได้ก็จะ มีความคมชัด แต่หากว่าสัญญาณที่ได้อ่อน ภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นเม็ดสโนว์ ในระบบAnalogสำหรับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ใน 1 ช่องดาวเทียม( ช่องทรานสปอนเดอร์ )จะส่งรายการทีวีได้ 1 ช่องรายการ หรือถ้าบีบอัดสัญญาณก็จะได้ที่ 2 ช่องรายการแต่คุณภาพที่ได้จะไม่ดีเท่าที่ควรปัจจุบันระบบนี้ไม่นิยมแล้ว
ระบบเครื่องรบแบบ DIGITAL (DVB) เครื่องรับดาวเทียมระบบ Digital เป็นเครื่องรับดาวเทียม ที่รับสัญญาณจากดาวเทียม ที่ส่งสัญญาณแบบ ดิจิตอล แล้วทำการแปลงสัญญาณข้อมูลด้วยระบบถอดรหัสแบบ Digital ให้เป็นภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบ ระบบบีบอัดสัญญาณที่ใช้ในระบบดาวเทียมคือระบบ MPEG-II เป็นระบบถอดรหัสแบบเดียวกันกับเครื่องเล่น DVD ซึ่งให้ความคมชัดมาก ทั้งระบบภาพและเสียง สำหรับระบบ Digital ในกรณีที่สัญญาณที่รับได้จากระบบดาวเทียมมีความแรงสัญญาณต่ำ ถ้าเป็นแบบระบบเดิมภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นลักษณะเม็ดไฟกวนภาพ แต่ถ้าเป็นระบบ Digital ระบบจะยังคงประมวลผลได้ และระบบภาพเสียงที่ได้ก็จะยังคงความคมชัดอยู่เหมือนเดิม (ยกเว้นสัญญาณที่รับได้อ่อนมากๆหรือต่ำเกินไป ) ในส่วนการรับส่งสัญญาณใน 1 ช่องทรานสปอนเดอร์ สำหรับระบบ Digital สามารถบีบอัดสัญญาณช่องรายการโทรทัศน์ ได้มากถึง 4 - 8 ช่องรายการ ต่อ 1 ช่องทรานสปอนเดอร์ ด้วยระบบการบีบอัดในแบบ Digital ทำให้การเช่าช่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจึงไม่จำเป็นต้องเช่า ทั้งทราน สปอนเดอร์ แบ่งเช่าได้ทำให้มีราคาการเช่าที่ถูกลง และช่องรายการโทรทัศน์ช่องต่างๆทั้งในและต่าง ประเทศ จึงนิยมใช้ระบบนี้กันอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย ปัจจุบันช่องรายการผ่านดาวเทียมมีมากถึง 400 กว่าช่องรายการ และคาดว่าจะมีมากขึ้นอีกในอนาคต